เปิดบันทึกตำนาน ตอน หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร (บางขุนพรหม) กทม.
***พระกรุนี้ส่วนมากที่เจอจะหักซ่อมซะส่วนใหญ่
เพราะสมัยก่อนนั้นช่างจีนที่ขึ้นไปทำการบูรณะเทปูน
บอกพระครูสังฆ์ว่ามีกระดูกผีอยู่ในองค์พระหลวงพ่อโต
พระครูสังฆ์เลยให้โกยลงมาข้างล่าง จึงทำให้พระที่โกยลงมาแตกหักชำรุดมาก
ส่วนพระที่เสียหาย
พระครูสังฆ์ได้บดผสมกดพิมพ์ใหม่แจกจ่ายคนทีมาทำบุญที่วัดอินทรวิหาร
เรียกว่า สมเด็จพระครูสังฆ์
*ประวัติ...หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หรือ หลวงพ่อโตวัดอินทร์ กรุงเทพฯ
“หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 ก่อด้วยอิฐถือปูน หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่ วัดบางขุนพรหมใน เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น ต่อมา พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโต กับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463
พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้
พระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอินทรสมาจาร” ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท) เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า
“ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจารที่ควรกล่าวให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)”
ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู)เจ้าอาวาสวัดอินทร์ จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา
ปัจจุบันมีงานฉลองพระพุทธรูปเป็นเทศกาลประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปี เทศกาลประจำปีงานนมัสการและปิดทองพระโต หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์ เป็นประจำทุกปี
จากที่ฟังๆผู้ใหญ่เขาเล่าต่อๆกันมาว่ากันว่าในขณะที่พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) จะได้เริ่มดำเนินการสร้างพระโตให้แล้วเสร็จ ได้มีการรื้อต้นโพธิ์และเศษวัสดุต่างๆที่รกร้างอยู่ด้านบนองค์พระ ก็ได้เจอกับพระสมเด็จจำนวนหนึ่งซึ่งวางอยู่ บางส่วนก็ตกลงมาแตกหักก็มีเยอะ ภายหลังท่านได้นำพระส่วนที่ชำรุดนี้ไปบดสร้างเป็นพระของท่าน
จากหนังสือของตรียัมปวาย เีขียนไว้นานมากแล้ว มีการพูดถึงพระสมเด็จกรุนี้เช่นกันว่า พระสมเด็จ กรุพระศรีอริยเมตตรัย (หลวงพ่อโต )วัดอินทรวิหาร
เมื่อ ปี พ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์ จรูญโรจน์ คลังภาค 1 กรม บัญชีกลางกรุงเทพ ได้ไปหาพระครูสังฆบวร ที่วัดอินทรวิหาร ขอเช่าพระสมเด็จที่พบในหลวงพ่อโต พระครูได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้มาสำรวจหลวงพ่อโตวัดอินทร์ และทำการบูรณะ ช่างจีนที่ขึ้นไปเทปูนบอกว่ามีกระดูกผีอยู่ในองค์พระ เมื่อนำมาดูปรากฏว่าเป็นพระสมเด็จทั้งสิ้น ท่านจึงให้โกยลงมา แตกหักชำรุดมาก เป็นพิมพ์ 3ชั้น, 5ชั้น, 6ชั้น, 7ชั้น, 9ชั้น ที่หลวงเจียรนัยติว่าไม่งาม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต จึงเอาไปบรรจุที่วัดไชโย อ่างทอง และบนองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ส่วนพระที่เสียหาย พระครูสังฆ์ได้บดผสมกดพิมพ์ใหม่แจกจ่ายคนทีมาทำบุญที่วัดอินทรวิหาร เรียกว่า สมเด็จพระครูสังฆ์
พระสมเด็จกรุวัดอินทรวิหารนี้ เป็นพระเก่าแก่ ที่อยู่ในความสนใจช่วงหนึ่งของคนสมัยก่อนมาก พระสมเด็จที่พบคราวปฎิสังขรหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารนี้ เนื้อหาเก่าจัดจ้านดี ปัจจุบันเป็นพระหาชมยาก เป็นพระดีที่ถูกลืมที่ทันสมเด็จโต ใกล้จะเป็นตำนานกันแล้ว แต่ถ้าถามคนสมัยก่อนจะรู้จักกันดีเพราะเมื่อก่อนดังมากครับ
*ประวัติ...หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หรือ หลวงพ่อโตวัดอินทร์ กรุงเทพฯ
“หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 ก่อด้วยอิฐถือปูน หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่ วัดบางขุนพรหมใน เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น ต่อมา พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโต กับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463
พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้
พระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอินทรสมาจาร” ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท) เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า
“ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจารที่ควรกล่าวให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)”
ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู)เจ้าอาวาสวัดอินทร์ จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา
ปัจจุบันมีงานฉลองพระพุทธรูปเป็นเทศกาลประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปี เทศกาลประจำปีงานนมัสการและปิดทองพระโต หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์ เป็นประจำทุกปี
จากที่ฟังๆผู้ใหญ่เขาเล่าต่อๆกันมาว่ากันว่าในขณะที่พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) จะได้เริ่มดำเนินการสร้างพระโตให้แล้วเสร็จ ได้มีการรื้อต้นโพธิ์และเศษวัสดุต่างๆที่รกร้างอยู่ด้านบนองค์พระ ก็ได้เจอกับพระสมเด็จจำนวนหนึ่งซึ่งวางอยู่ บางส่วนก็ตกลงมาแตกหักก็มีเยอะ ภายหลังท่านได้นำพระส่วนที่ชำรุดนี้ไปบดสร้างเป็นพระของท่าน
จากหนังสือของตรียัมปวาย เีขียนไว้นานมากแล้ว มีการพูดถึงพระสมเด็จกรุนี้เช่นกันว่า พระสมเด็จ กรุพระศรีอริยเมตตรัย (หลวงพ่อโต )วัดอินทรวิหาร
เมื่อ ปี พ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์ จรูญโรจน์ คลังภาค 1 กรม บัญชีกลางกรุงเทพ ได้ไปหาพระครูสังฆบวร ที่วัดอินทรวิหาร ขอเช่าพระสมเด็จที่พบในหลวงพ่อโต พระครูได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้มาสำรวจหลวงพ่อโตวัดอินทร์ และทำการบูรณะ ช่างจีนที่ขึ้นไปเทปูนบอกว่ามีกระดูกผีอยู่ในองค์พระ เมื่อนำมาดูปรากฏว่าเป็นพระสมเด็จทั้งสิ้น ท่านจึงให้โกยลงมา แตกหักชำรุดมาก เป็นพิมพ์ 3ชั้น, 5ชั้น, 6ชั้น, 7ชั้น, 9ชั้น ที่หลวงเจียรนัยติว่าไม่งาม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต จึงเอาไปบรรจุที่วัดไชโย อ่างทอง และบนองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ส่วนพระที่เสียหาย พระครูสังฆ์ได้บดผสมกดพิมพ์ใหม่แจกจ่ายคนทีมาทำบุญที่วัดอินทรวิหาร เรียกว่า สมเด็จพระครูสังฆ์
พระสมเด็จกรุวัดอินทรวิหารนี้ เป็นพระเก่าแก่ ที่อยู่ในความสนใจช่วงหนึ่งของคนสมัยก่อนมาก พระสมเด็จที่พบคราวปฎิสังขรหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารนี้ เนื้อหาเก่าจัดจ้านดี ปัจจุบันเป็นพระหาชมยาก เป็นพระดีที่ถูกลืมที่ทันสมเด็จโต ใกล้จะเป็นตำนานกันแล้ว แต่ถ้าถามคนสมัยก่อนจะรู้จักกันดีเพราะเมื่อก่อนดังมากครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น