Head1

ประวัติ-สมเด็จฯโต วัดระฆัง

VDOสารคดี ตำนานลี้ลับ สมเด็จโต

VDOหนังชีวประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม บางกอกน้อย ธนบุรี นามเดิมว่า โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรํสี ถือกำเนิดตอนเช้าตรู่ของวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น
๑๓ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๕๐ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ณ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  มารดาชื่อเกศ บิดาไม่เป็นที่ปรากฎ
ตาชื่อนายผล ยายชื่อนางลา เป็นชาวบ้านตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ต่อมาฝนแล้งติดต่อกันหลายปีทำนาไม่ได้ผล จึงพากันย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับยายที่บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง
อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะที่ท่านยังเป็นเด็กนอนแบเบาะอยู่นั้น มารดาได้ย้ายภูมิลำเนามา
อยู่ที่ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง แต่พอท่านจำเริญวัยพอนั่งยืนได้ มารดาได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม
จังหวัดพระนคร เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งสถานที่ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับประวัติชีวิตของท่านนั้น ท่านจึงได้สร้างพระพุทธรูป
ขนาดใหญ่ไว้หลายองค์ เช่น สร้างพระพุทธไสยาสน์ ที่วัดสะดือ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดไก่จ้น ตำบลท่าหลวง
อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระมหาพุทธพิมพ์ ที่วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง และสร้าง
พระศรีอาริยเมตไตรยไว้ที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เป็นต้น
สมัยเมื่อท่านยังเป็นเด็ก มารดาได้มอบให้เป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง)ประคุณสมเด็จฯ ได้เรียนหนังสือใน
สำนักของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง)วัดอินทรวิหารเดิมชื่อว่าวัดบางขุนพรหมนอก ส่วนวัดบางขุนพรหมใน
ก็คือวัดบางพรหมในปัจจุบัน  พออายุได้ ๑๒ ปี ตรงกับปีวอก พ.ศ.๒๓๔๒ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร
โดยมีพระบวรวิริยะเถร(อยู่)เจ้าอาวาส วัดบางลำภูและภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังโฆษิตาราม ธนบุรี เพื่อมา
ศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค)   มีเรื่องเล่าว่า ก่อนที่ท่านจะย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังฯ นั้น
ในตอนกลางคืน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค)เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ขณะนั้นได้ฝันว่า...
"ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามา กินหนังสือในตู้พระไตรปิฎกของท่านจนหมดตู้  ไม่มีเหลืออยู่เลยสักเล่ม"
เมื่อท่านตื่นมาในตอนเช้าได้พิจารณาความฝันเมื่อคืนนี้แล้วก็ปลงใจว่า..."ถ้ามีใครเอาเด็กมาฝากให้เป็นลูกศิษย์
ก็ขอให้รอพบก่อน" ครั้นในเพลารุ่งขึ้น ท่านเจ้าคุณอรัญญิกก็ได้นำเอาสามเณรโตมาถวายเป็นศิษย์ใน
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) ท่านก็รับด้วยความยินดีสมกับความฝันจริงเมื่อท่านเจ้าประคุณ
สมเด็จฯ ได้เข้ามาศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังฯ แล้วปรากฏว่า การศึกษาของท่านได้รับคำชมเชย
จากพระอาจารย์อยู่เสมอว่าความจำความเฉลียวฉลาดปราดเปรื่องปฏิภาณไหวพริบของท่านนั้น เป็นเลิศ
หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยากประการหนึ่ง ท่านเรียนรู้พระปริยัติธรรมได้อย่างที่เรียกว่า "รู้แจ้งแทงตลอด"
กันเลยทีเดียว นอกจากท่านจะได้ศึกษาในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังฯ แล้ว
ท่านยังได้ไปฝากตัวศึกษาทางด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติกับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน ณวัดมหาธาตุ
ฝั่งตะวันตกของสนามหลวงเป็นพื้น และด้วยความเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง ของท่านดังกล่าวแล้ว จนกระทั่ง
สมเด็จพระสังฆราชฯ ตรัสว่า  "สามเณรโตเขาไม่ได้มาศึกษากับฉันดอก เขามาแปลหนังสือให้ฉันฟัง"  นอกจาก
ทางด้านปริยัติท่านจะได้ศึกษาอย่างรู้แจ้งรู้จบแล้ว ท่านยังได้หันไปศึกษาทางด้านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น
จากวัฏสงสาร กับสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อนอาจารย์รูปหนึ่งทางด้านปริยัติธรรมของท่านซึ่งในขณะนั้น
ท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง ทางปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว และด้วยคุณวิเศษในด้านเมตตาของท่าน จนสามารถโน้มน้าวจิตใจ
ของไก่ป่าที่แสนเปรียวในป่าชัฏต้องละป่าและละถิ่นฐานตามท่านมาอยู่ในกรุง เป็นเหตุมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง
จึงได้รับสมญานามว่า สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน  อาจารย์ทางด้านวิปัสสนาธุระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
นอกจากสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อนแล้วก็มีเจ้าคุณอรัญญิกวัดอินทรวิหารบางขุนพรหม โดยเฉพาะสมณศักดิ์
อรัญญิก ซึ่งแปลว่า ป่า ย่อมจะเป็นที่แจ้งชัดแล้วว่าท่านเป็นผู้ชำนาญทางปฏิบัติเพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่ง
ของด้านวิปัสสนาธุระอยู่แล้ว ยังมีเจ้าคุณบวรวิริยเถร วัดสังเวชวิทยาราม บางลำพู และท่านอาจารย์แสง
วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี ผู้โด่งดังทางด้านปฏิบัติและเก่งกล้าทางพุทธาคมอีกด้วย โดยที่สามเณรโตท่านเป็น
ผู้มักน้อย สันโดษ และไม่มีความทะเยอทะยานในลาภยศสรรเสริญทั้งๆ ที่ท่านเป็นผู้ที่เรียนรู้ในพระปริยัติธรรม
และมีความเชี่ยวชาญถ่องแท้ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี แต่สามเณรโตท่านก็หาได้เข้าสอบเป็นเปรียญไม่
นอกจากท่านจะมีความเชี่ยวชาญสนด้านปริยัติธรรมดังกล่าว ท่านยังมีความสามารถในการเทศน์ได้ไพเราะ
และมีความคมคายยังจับจิต จับใจท่านผู้ฟังมาแต่ครั้งท่านเป็นสามเณรอยู่ก่อนแล้ว เรื่องนี้เป็นที่เล่าลือขจรขจาย
ไปทั่วทุกทิศ และด้วยเหตุสามเณรโตเป็นนักเทศน์เป็นเหตุให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(ร.๒)
ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก ถึงกับพระราชทานเรือกัญญา
หลังคากระแชงไว้ให้ใช้และรับไว้ในพระราชูปถัมภ์อีกด้วย ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ
ทรงพระเมตตาสามเณรโตไม่น้อยเหมือนกันและทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้อุปสทบทเป็ฯนาคหลวงและ
อุปสมบทเมื่ออายุครบ๒๑ปี ตรงกับปีเถาะ พ.ศ.๒๓๕๐ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์    ให้ฉายาว่า "พรหมรังสี" และ
เรียกว่า พระมหาโต ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา   ในรัชกาลที่๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงแต่งตั้ง
ให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯให้เป็นพระราชาคณะ แต่ทว่าท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯ  ได้ทูลขอตัวเสีย ด้วยเหตุ
ที่กลัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ให้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงได้
ถือธุดงควัตรไปตามจังหวัดที่ห่างไกลเป็นการเร้นตัวไปในทันที
สืบต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔) โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ ในคราวนี้
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ขัด พระราชประสงค์ อาจจะเป็นด้วยท่านชราภาพลงมากคงจะจาริกไปในที่ห่างไกล
คงไม่ไหวแล้ว เพราะตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว (ร.๔) พระราชทานสมณศํกดิ์เป็นที่
๑พระธรรมกิติเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕
๒พระเทพกวี เมื่อปีขาล พ.ศ.๒๓๙๗
๓สมเด็จพระพุฒาจารย์ สถาปนาในคราวสมเด็จพระพุฒาจารย์(สน)วัดสระเกศฯ มรณภาพลง ตรงกับวันพฤหัสบดี
เดือนยี่ขึ้น๙ค่ำปีชวด พ.ศ.๒๔๐๗ เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รูปที่๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อกิติศัพท์ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู้หัวฯ จึงโปรดให้เสด็จฯ เข้าแปลพระปริยัติธรรมถวาย
ตามหลักสูตรเปรียญในเวลานั้น พระองค์ทรงแปลอยู่ ๓ วัน ก็ปรากฏว่าทรงแปลได้หมดจนจบชั้นเปรียญเอก
จึงพระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ๙ ประโยค ให้ทรงถือ เป็นสมณศักดิ์ต่อมา ฉะนั้นเมื่อพระองค์
พระราชทานสมณศักดิ์ให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โต จึงเข้าทำนองปราชญ์ย่อมจักเข้าใจ ในปราชญ์
เกี่ยวกับเรื่องนี้มีเรื่องเล่ากันว่า "ในตอนที่พระราชทานให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต เป็นที่พระธรรมกิติ
เจ้าอาวาสวัดระฆังฯนั้น พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้า ทรงเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งถามท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ว่าในรัชกาลที่ ๓ ทำไมเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงหนีไม่ยอมรับพระราชทาน สมณศักดิ์ แต่คราวนี้จึงไม่หนีอีกเล่า
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ถวายพระพรด้วยปฏิภาณไหวพริบอันว่องไวและเฉียบแหลมว่า " รัชกาลที่ ๓
ทำไมไม่ได้เป็นเจัาฟ้า เป็นแต่เจ้าแผ่นดินเท่านั้น ท่านจึงหนีได้ แต่มหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า (ร.๔) เป็น
ทั้งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านเจ้าประ คุณสมเด็จฯ จึงหนีไปไหนไม่พ้น"
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับก็ทรงพระสรวลด้วยความพอพระราชหฤทัย ด้วยเหตุฉะนี้
กระมังพระองค์จึงทรงโปรดและมีพระมหากรุณาต่อ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ เป็นพิเศษ
บางโอกาสแม้ว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้แสดงข้ออรรถข้อธรรมอันลึกซึ้งที่ขัดพระทัย อยู่บ้าง
ก็ทรงอภัยให้เสมอ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อออกพรรษาเป็นเทศกาลทอดกฐินพระราชทาน พระองค์ทรงโปรดให้
อารามหลวงในเขตกรุงเทพพระมหานคร จัดการตกแต่งเรือเพื่อการประกวดประชันความงามและความคิด เมื่อ
ขบวนเรือประกวดล่องผ่านพระที่นั่งเป็นลำดับๆ ซึ่งล้วนแต่ตกแต่งด้วยพันธุ์บุปผานา นาชนิดสวยงามยิ่งนัก ครั้น
มาถึงเรือประกวดของวัดระฆังฯ เท่านั้นเป็นเรือจ้นเก่าๆ ลำหนึ่ง ที่หัวเรือมีธงสีเหลืองที่ทำจากจีวรพระมีลิงผูกอยู่กับ
เสาธงที่กลาง เรือมีเจ้าประคุณสมเด็จฯนอนเอกเขนกอยู่เท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทอดพระเนตรเห็นเท่านั้นก็เสด็จขึ้นทันทีแล้วตรัสว่า "ขรัวโตเขาไม่ยอมเล่นกับเรา"  แต่ก็ทรงทราบด้วยพระปรีชาว่า
การที่ขรัวโตประพฤติเช่นนั้นทำเป็นปริศนาให้ทรงทราบว่าความจริงแล้วพระสงฆ์องค์เจ้าอย่างท่านไม่ได้สะสม
ทรัพย์สินเงินทองแต่อย่างใด มีเพียงอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จะจัดหาสิ่งของเอามาตกแต่งเรือให้สวย
งามได้อย่างไร คงมีแต่จีวรที่แต่งแต้มสีสันกับสัตว์เลี้ยงคือลิงที่มักแลบลิ้นปลิ้นตา ดังวลีที่ว่า การกระทำเช่นนั้น
ความจริงแล้วมันเหมือนกับทำตัวเป็น " ลิงหลอกเจ้า " นั้นเอง แต่พระองค์ก็ทรงอภัยโทษ หาได้โกรธขึ้งได้
การกระทำเช่นนั้น ถ้าเป็นบุคคลอื่นคงจะหัวขาดเป็นแน่ ครั้งถึงวันที่สาม วันนี้เป็นวันที่ ปราศจากพระราชกิจ
แต่อย่างใด จึงตั้งพระทัยว่าจะสดับพระธรรมเทศนาให้จุพระทัย แต่ทว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็รู้แจ้งใน
พระประสงค์ พอท่านขึ้น ธรรมาสน์ถวายศีล บอกศรัทธาถวายพระพรตั้งนะโมว่าอรรถต่อจากนั้นก็แปลเพียง
สองสามประโยคแล้วท่านเจ้าประคุณฯ ได้กล่าวว่าจะถวายพระธรรมเทศนา พระธรรมหมวดใดๆ
มหาบพิตรราชสมภารเจ้าก็ทรงทราบหมดแล้ว เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ เสร็จแล้วท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ลง
จากธรรมาสน์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีรับสั่งความว่า
"ทำไมวันก่อนจึงถวายพระธรรมเทศนาเสียยืดยาวมากกว่านี้ ?"
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงถวายพระพรไปว่า "เมื่อวานพระมหาบพิตรพระราชหฤทัยขุ่นมัว จะทำให้หายขุ่นมัวนั้น
จะต้องสดับพระธรรมเทศนามากๆ แต่มาวันนี้พระราชหฤทัยผ่องใส จะสดับแต่เพียงน้อยก็ได้" พระองค์ไม่ตรัส
ว่าอย่างไร ได้แต่ทรงพระสรวลด้วยความยินดีเข้าทำนองปราชญ์ย่อมจักเข้าใจ ในปราชญ์ฉะนั้น สืบต่อมา
ได้มีพระเถระรูปอื่นได้นำเอาวาทะของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดังกล่าวแล้วไปใช้พระองค์ไม่ให้อภัยอย่างท่าน
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงกริ้วเป็นอย่างมากอีกด้วย จากเหตุการณ์ที่เล่ามานี้แสดงว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ
เป็นที่โปรดปรานและทรงพระเมตตาแก่ท่านเป็นอย่างมากอีกด้วย และจากพฤติกรรมที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ท่านทราบถึงวาระจิตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั้นย่อมจักแสดงว่าท่านเป็นผู้สำเร็จและทรงคุณวิเศษ
ในอภิญญา คือกำหนดรู้วาระจิตบุคคลอื่น มีอยู่คราวหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตร
ละครหลวง ซึ่งตัวละครเป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามอยู่เป็นเนืองนิตย์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงได้จุดไต้ในเวลา
กลางวันเดินเข้าไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง ทำเป็นปริศนาธรรม
เพื่อประสงค์จะทูลเตือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเกรงว่าจะทรงหมกหมุ่นในกามคุณารมย์
มากไปนั่นเองพอพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นก็มีพระราชดำรัสว่า "ขรัว เขารู้แล้ว
เขารู้แล้ว" ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านได้จุดไต้ในเวลา กลางวันอีกครั้งหนึ่ง โดยได้เดินเข้าไปหาท่านเจ้า
พระยาศรีสุริยวงศ์ฯ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเสวยราชสมบัติแต่ยังทรงพระ เยาว์อยู่
เพราะมีข่าวลือว่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะคิดกบฏ และเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เข้าไปหาผู้สำเร็จ
ราชการแล้วได้เล่าข่าวลือให้ฟังพร้อม ทั้งบอกว่าจะจริงหรือไม่จริงอย่างไร อาตมาก็ขอบิณฑบาตเสียเลย
เรื่องราวอันเกี่ยวกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านประพฤติปฏิบัติตนตามความสัตย์จริง เท่าที่ท่านจะเห็นควร
โดยไม่ได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัตินั้น นอกจากจะทำเป็นปริศนาธรรมให้คิดแล้วยังแสดงออก
ถึงคุณวิเศษของท่าน อีกด้วยมีเรื่องเล่าต่อไปว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งพระภิกษุที่วัดระฆังฯ ซึ่งท่านเป็นผู้ปกครองวัดอยู่
ได้ตีกันถึงหัวร้างข้างแตก พระรูปที่ถูกตีหัวแตกได้ไปฟ้องท่าน ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ตอบพระรูปนั้นไปว่า
"ก็คุณตีเขาก่อนนี่" พระรูปนั้นก็ตอบว่า "กระผมไม่ได้ตี" แต่ทว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงยืนกรานคำพูดของท่าน
อย่างนั้นพระรูปนั้นเกิดความไม่พอใจ เป็นอย่างมาก จึงได้ไปฟ้องสมเด็จพระวันรัต (เข่ง) วัดอรุณฯ ได้ตรวจสอบ
อย่างแน่ชัดเช่นนั้นแล้ว สมเด็จฯ วัดอรุณฯ จึงได้ให้คนไปนิมนต์ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯ (โต) มาจากวัดระฆังฯ
มาสอบถาม โดยถามท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่าท่านรู้ได้อย่างไรว่าพระรูปนั้นไปตีพระอีกรูปก่อน ท่านเจ้าประคุณ
สมเด็จฯ ท่านเลี่ยงไปตอบว่า ท่านรู้ได้ตามพุทธฏีกาว่า "เวรไม่ระงับด้วยเพราะการจองเวร" และ
"เวรต่อเวรมันตอบแทนซึ่งกันและกัน" ซึ่งก็หมายความว่า เมื่อชาติก่อนพระรูปที่ถูกตีหัวแตกเคยไปตีหัวพระองค์นั้น
ก่อนนั่นเอง เมื่อสมเด็จพระวันรัตได้ฟังท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตอบเช่นนั้น ก็จนด้วยปัญญา จึงได้มอบหมาย
ให้ท่านเป็นผู้ระงับอธิกรณ์ในครั้งนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เรียกพระทั้งสองรูปนี้มาอบรมสั่งสอนตามแนวทาง
ธรรมะไม่ให้จองเวรซึ่งกัน และกัน เสร็จแล้วจึงได้มอบเงินทำขวัญให้แก่พระทั้งสองรูปนั้นคนละ๑ ตำลึง
ซึ่งในสมัยนั้นนับว่าเป็นเงินมากโขอยู่ แล้วสรุปว่าท่านทั้งสองรูปไม่มีใครผิดไม่มี ใครถูก แต่ฉันเป็นคนผิดเองที่
ปกครองดูแลไม่ดี อย่างนี้เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านยังกอปรด้วยเมตตาเป็นยิ่งนัก
มีเรื่องเล่าว่าคืนหนึ่งขณะที่ท่านกำลังนอนหลับอยู่ได้มีหัวขโมย ซึ่งส่วนมากเป็น ประเภทขี้ยาหรือพวกที่ชอบ
ลักเล็กขโมยน้อย ได้ขึ้นมาลักขโมยเอาตะเกียงลานของท่าน แต่ทว่าเอื้อมหยิบไม่ถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
จึงเอาเท้าเขี่ย ตะเกียงลานให้ แล้วพูดว่า ให้รีบๆ ไป เดี๋ยวลูกศิษย์มาเห็นเข้าจะเจ็บตัว
อีกครั้งหนึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดเครื่องกฐินเพื่อไปทอดที่วัดแห่งหนึ่งแถว จังหวัดอ่างทอง แต่ขณะที่
จอดเรือพักนอนค้างคืนนั้น ได้มีขโมยมาลักเอาเครื่องกฐินของท่านจนหมด ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตื่นขึ้นมา
แทนที่ท่านจะโกรธ กลับแสดงความดีใจเลยล่องเรือกลับกรุงเทพฯ ผ่านคนที่รู้จักกันท่านจะบอกแบ่งบุญให้อย่าง
ทั่วถึง พอแล่นเรือมาถึงบางตะนาวศรี แถวเมืองนนบุรี ท่านได้ แวะซื้อหม้อดินจนเต็มเรือ ใครถามท่านจะตอบว่า
"เอาไปแจกคนบางกอกเขาจ้ะ" เมื่อเรือแล่นมาถึงกรุงเทพฯ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ให้เรือแล่นเข้าคลองบางลำพูไปออกทางคลองโอ่งอ่าง สะพานหัน
เที่ยวแจกหม้อเขาเรื่อยไปจนหม้อหมดก็กลับวัด พวกนักเลงหวยเห็นพฤติกรรมอันประหลาดของท่านเจ้าประคุณ
สมเด็จฯ เป็นเช่นนั้นก็คิดว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ "ใบ้หวย ก. ข." คือตัว ม. (หม้อ) ปรากฏว่าวันนั้นทั้งวัน
หวยออกตัว ม. ทั้งเช้าและค่ำ เล่นเอาเจ้า มือหวยเจ๊งไปตามๆ กัน มีวลีกล่าวถึงประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
อยู่ประโยคหนึ่งว่า "ท่านนอนอยู่ที่อยุธยามานั่งที่ไชโย มาโตที่วัดอินทร์ จำศีลที่วัดระฆัง" และเพื่อเป็นอนุสรณ์
แห่งความทรงจำ และระลึกถึงสถานที่สำคัญๆ สำหรับชีวิตท่าน ท่านได้สร้างปูชนียวัตถุอันเป็นที่พึ่งทางใจของ
ผู้ที่ได้พบเห็น ก่อให้เกิดศรัทธาได้เป็น ที่ยิ่ง อาทิเช่น ท่านได้สร้างพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ที่ใหญ่โต
ไว้ที่วัดสะดือ อยุธยา สร้างพระนั่งที่ใหญ่โตไว้ที่วัดไชโย จ.อ่างทอง สร้างพระยืนที่ใหญ่โต ที่วัดอินทรวิหาร
กรุงเทพฯ นี้ แลท่านชอบสร้างปูชนียวัตถุให้ใหญ่ๆ โตๆ ตามพระนามของท่านว่า โต นั่นเอง
ในปีที่๕แห่งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพุฒาจารย์โตได้ไปดูการก่อสร้างพระโต
ที่วัดบางขุนพรหมใน ต่อมาท่านอาพาธด้วยโรคชราภาพ และถึงแก่มรณภาพบนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน
(วัดอิทรวิหารในปัจจุบัน) เมื่อวันเสาร์ เดือนแปด (ต้น)แรม ๒ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๓๔
ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ ยาม๒ (๒๕.๐๐น)
คิดทดหักเดือนตามอายุโหราจารย์ ตามสุริยะคตินิยม จึงเป็นสิริอายุรวม ๘๔ ปี พรรษาที่๖๔
A1-001_100ปี วัดระฆัง พิมพ์เศียรโตA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น